โรคไขมันในเลือดสูง

การวิเคราะห์โรคไขมันในเลือดสูง
แพทย์จะทำการวิเคราะห์โรคไขมันในเลือดสูง โดยการเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับไขมันในเลือด แล้วก็เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้อง ต้องงดเว้นของกินทุกประเภท เว้นเสียแต่น้ำกิน ก่อนที่จะมีการเจาะเลือด 8 – 10 ชั่วโมง

คนไหนที่จำเป็นหรือควรจะเริ่มตรวจค้นไขมันในเส้นโลหิต
1. คนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือมากกว่า 35 ปีขึ้นไป สำหรับคนที่มีแนวทางชีวิตแบบชุมชนเมือง
2. สตรีที่หมดรอบเดือนก่อนวัยอันควร หรือ ก่อนอายุ 40 ปี
3. มีหลักฐานหรือสงสัยว่าโรคเส้นโลหิตตีบ ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะใดก็ตาม
4. มีการเสี่ยงอื่นต่อการเกิดโรคหัวใจแล้วก็เส้นโลหิต อย่างเช่น ดูดบุหรี่ โรคความดันเลือดสูง และก็เบาหวาน
5. บิดามารดา พี่น้องหรือญาติเป็นโรคเส้นเลือดตีบ โดยพี่น้องผู้ชาย ที่อายุก่อน 55 ปี แล้วก็พี่น้องผู้หญิงก่อนอายุ 65 ปี
6. ผู้เจ็บป่วยด้วยโรคอ้วนที่มี BMI มากยิ่งกว่า 30
7. โรคเรื้อรังบางประเภทที่ค้นพบว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ ดังเช่น โรครูมาตอยด์ โรค SLE Psoriasis
8. คนที่ไตเสื่อม อัตราการกรองของไตน้อยกว่า 60
9. คนภายในครอบครัวมีประวัติไขมันสูง

ข้อควรคำนึงสำหรับผู้มีภาวการณ์ไขมันในเลือดสูง
1. ปรับพฤติกรรมการบริโภค
ควรจะลดของกิน
– ชนิดน้ำตาล ของหวานทุกหมวดหมู่ ผลไม้รสหวานจัดและก็ผลไม้ดัดแปลง รวมทั้งน้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มเสริมพลังงาน ของทอดต่างๆ แกงที่มีส่วนผสมของน้ำกะทิ ของกินที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ ยกตัวอย่างเช่น เนย หรือมาการีน
– ของกินที่มีไขมันอิ่มตัว และพวกคอเลสเตอรอล เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ สัตว์ที่มีกระดองแข็ง อาทิเช่น หอยนางรม ปู ปลาหมึก น้ำมันที่ผลิตขึ้นมาจากมะพร้าว น้ำกะทิ ฯลฯ
ควรจะกิน
– ผักให้มากขึ้นในแต่ละมื้อ โดยเน้นย้ำผักใบเขียว
– ของกินที่มีไขมันไม่อิ่มตัว เช่น ของกินที่ทำมาจากพืช ถั่วต่างๆ และก็เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ตัวอย่างเช่น ปลาจำพวกต่างๆ
– ย้ำการปรุงทำกับข้าวแบบต้ม อบ นึ่ง ต้ม ยำ แทนการใช้น้ำมัน แม้จำเป็นจะต้องใช้น้ำมันควรจะลดจำนวนให้ลดลงหรือหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันจากพืชเขตร้อน ตัวอย่างเช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันที่ผลิตขึ้นมาจากมะพร้าว ซึ่งจะ      ช่วยลดจำนวนไขมันอิ่มตัวสำหรับการบริโภคได้
2. ปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิต
– บริหารร่างกายเป็นประจำด้วยการวิ่ง เดินเร็ว หรือปั่นจักรยาน ช่วยลดจำนวนไขมันในเลือด แล้วเพิ่มระดับของ HDL ขึ้น ควรจะทำโดยตลอดอาทิตย์ละ 3 – 4 ครั้ง ทีละ 20 – 30 นาที
– งดเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
– งดเว้นดูดบุหรี่
– ควบคุมน้ำหนักให้ตามมาตรฐาน ไม่ให้เกิดภาวะอ้วนขึ้น

อันตรายของผงชูรส

อันตรายจากผงชูรส
ทานผงชูรสมากๆ จะทำให้ผมร่วง ไม่ใช่เรื่องจริง แต่อย่างใด ซึ่งแท้จริงเหตุผลที่มีคนเตือนมาว่าอย่าทานของที่มีผงชูรส อาจจะเป็นเพราะว่าผงชูรสอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติบางอย่าง ด้วยข้อมูลจากวารสารทางการแพทย์ มีการรายงานถึงอาการผิดปกติของคนที่ทานอาหารที่มีผงชูรสเป็นส่วนประกอบเอาไว้มากมาย ตั้งแต่อาการผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงอาการร้ายแรง
– คอแห้ง กระหายน้ำ
– มีอาการแพ้ผงชูรส ปากแห้ง ลิ้นชา แขน หลัง และคอมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ใจสั่น แน่นหน้าอก หน้าแดง จนถึงขั้นเป็นลม
– กระตุ้นอาการหืดหอบ และไมเกรนให้กำเริบ
อย่างไรก็ตามข้อมูลจากวารสารนั้น ก็ไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจน ว่า ผงชูรส จะสามารถก่อให้เกิดอาการเหล่านั้น เพราะในการทดลองจะพบว่ามีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ส่วนประกอบต่างๆ ของอาหารในจานนั้นๆ ที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการเหล่านั้นได้ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ผงชูรสก็ไม่ได้ไม่อันตรายเสมอไป แต่อย่างไรก็มีการค้นพบอาการที่เกิดขึ้นจากเกลือโซเดียมในผงชูรส มีดังนี้
– ภูมิต้านทานร่างกายลดลง
– เกิดการคลั่งในสมองของเด็ก ทำให้เด็กโตขึ้นมามีอาการปัญญาอ่อน หรือมีอาการชักโคม่า
– เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคไต ความดันสูง โรคหัวใจ และโรคอื่นๆ ที่แพทย์สั่งห้ามทานอาหารเค็ม
ในพ่อค้าแม่ค้าที่ทำธุรกิจอาหารก็อาจจะใส่ผงชูรสในปริมาณมากเกินไป เพราะผงชูรส ไม่ได้ออกรสเค็มหรือรสใดมาก หรือชัดเจน ทำให้ก็อาจไม่ค่อยรับรู้รสเค็มได้ชัดเจน ถึงอาจเผลอใส่เยอะจนทำให้ร่างกายได้รับผงชูรสมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว

ทำความรู้จักโรคเบาจืดกันหน่อยดีกว่า

โรคเบาจืด คืออะไร?
โรคเบาจืด เป็นภาวะที่ร่างกายสูญเสียความสมดุลของน้ำ ซึ่งเกิดมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (Antidiuretic Hormone) จะแสดงอาการออกมาโดย จะรู้สึกกระหายน้ำอย่างรุนแรงและเมื่อดื่มน้ำเข้าไปแล้วก็ยังคงที่จะหิวอยู่เสมอ ทำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากผิดปกติ และปัสสาวะออกมามากกว่าที่ควรจะเป็น
จริงแล้วสาเหตุหลักเลยที่ส่งผลให้เป็นโรคเบาจืด คือ ร่างกายไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนออกมาได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณใกล้ต่อมใต้สมอง จะมีผลแทรกซ้อนตามมาทำให้เกิดโรคเบาจืด และไตผิดปกติแต่กำเนิด โดยเมื่อแรกเกิดมักไม่ค่อยแสดงอาการของโรคเบาจืด แต่จะแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 1-3 ขวบ หรือพบในบางรายเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว

ประเภทของโรคเบาจืด
โรคเบาจืดแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
1. โรคเบาจืดจากความผิดปกติของสมอง (Cranial Diabetes Insipidus) พบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคเบาจืดชนิดอื่น เป็นผลมาจากการเกิดจากความเสียหายของต่อมใต้สมอง หรือสมองส่วนไฮโปทาลามัส มีหลายสาเหตุ เช่น ผลพวงจากการติดเชื้อที่สมอง การผ่าตัด เนื้องอกที่สมอง หรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ จนทำให้สมองส่วนไฮโปทาลามัสไม่สามารถสร้างฮอร์โมนที่ควบคุมการปัสสาวะได้

2. โรคเบาจืดจากความผิดปกติของไต (Nephrogenic Diabetes Insipidus) ด้วยกระบวนการทำงานของไตไม่สัมพันธ์หรือตอบสนองต่อฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกได้ ซึ่งอาจเกิดจากไตได้รับความเสียหายบางอย่างจึงทำงานผิดปกติ หรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ลิเทียม ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น

3. โรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของกลไกควบคุมการกระหายน้ำ (Dipsogenic Diabetes Insipidus) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของกลไกการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการกระหายน้ำภายในสมอง

4. โรคเบาจืดที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Insipidus)

โรคเบาจืด รักษาไม่หาย ต้องกินยาตลอดชีวิต
นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ไม่ว่าช่วงวัยไหนก็สามารถที่จะเป็นโรคเบาจืดได้ แต่ว่าผู้ป่วยโรคเบาจืดนั้นมีน้อย หนึ่งแสนคน จะพบผู้ป่วยเพียง 3-4 รายเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามโรคเบาจืดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องทานยาไปตลอดชีวิต

อาการของโรคเบาจืด
โรคนี้จะแสดงออกมาให้เราเห็นดังต่อไปนี้
• มีการปัสสาวะบ่อยๆ และปัสสาวะครั้งละมากๆ ปัสสาวะมักไม่มีสี หรือกลิ่น

• หากร่างกายเสียน้ำมากเกินไป ผู้ป่วยจะกระหายน้ำบ่อย จะต้องดื่มน้ำมากๆ หากดื่มไม่เพียงพอ อาจเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง ทำให้มีอาการซึม ไม่รู้สึกตัว และช็อก หรือหมดสติ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย
• ในบางรายอาจพบอาการปวดบริเวณเอว หรือท้องน้อย เนื่องจากการคั่งของปัสสาวะบริเวณท่อไต กรวยไต กระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้อวัยวะดังกล่าวโตขึ้น

วิธีรักษาโรคเบาจืด
นายแพทย์วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความสำคัญคือต้องพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและหาสาเหตุของโรค เพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
วิธีการรักษาและปฏิบัติตัวที่สำคัญของผู้ที่เป็นโรคเบาจืด คือ
1. ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด มีการสูญเสียน้ำง่าย ในบางรายที่มีอาการท้องเดิน ท้องเสีย ยิ่งต้องดื่มน้ำเปล่าให้มากเพื่อทดแทนที่เสียไป

2. งดอาหารที่มีรสเค็มจัด เพราะจะเป็นการเพิ่มเกลือหรือโซเดียมให้กับร่างกายมาก ร่างกายจะทำงานหนักเพราะต้องพยายามขับเกลือออกมาทางไตและออกมากับปัสสาวะ เป็นสาเหตุให้ร่างกายถูกดึงน้ำออกไป จึงทำให้ขาดน้ำมากขึ้น

3. ใช้ยาตามแพทย์สั่งให้ครบและตรงเวลาสม่ำเสมอห้ามหยุดยาหรืองดยาไปเอง เพราะโรคนี้จำเป็นต้องใช้ยาควบคุมเสมอ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

4. โรคเบาจืดมักเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด ผู้ป่วยต้องใช้ยาฮอร์โมนทดแทนตลอดชีวิต หากสงสัยว่าอาจเป็นโรคเบาจืดควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อไป เนื่องจากภาวะเบาจืดอาจเป็นอาการของโรคทางสมอง โรคเลือด หรือความผิดปกติแต่กำเนิดบางอย่างได้

อันตรายจากลูกชิ้น

 

อาหารยามว่างของชาวออฟฟิศหลายๆ คน (รวมถึงออฟฟิศของ Sanook! เองด้วย) หนีไม่พ้น “ลูกชิ้นทอด” ที่ทั้งอร่อย ทั้งอิ่ม กินกันเพลินจนหยุดไม่อยู่ แต่นอกจากแป้ง และน้ำจิ้มที่เป็นอาหารให้พลังงานสูง เสี่ยงต่อน้ำหนักที่อาจพุ่งขึ้นอย่างไม่รู้ตัวแล้ว ลูกชิ้นที่ไม่ได้มาตรฐานอาจส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภคอย่างเราๆ ได้เช่นกัน

อันตรายจากลูกชิ้น
ดร.วนะพร ทองโฉม นักวิชาการโภชนาการ ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ลูกชิ้นเป็นผลิตภัณฑ์แปลรูปจากเนื้อสัตว์ แม้ว่าลูกชิ้นจะมีหลายแบบ หลายขนาด และมีส่วนผสมหลักที่แตกต่างกันไป เช่น ลูกชิ้นปลา ลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นเนื้อ เป็นต้น แต่สิ่งหนึ่งที่มักพบเจอในลูกชิ้นทุกแบบ คือ

  1. สารบอแรกซ์ หรือน้ำประสานทอง แม้ว่าจะมีกฎหมายไม่ให้ใส่ในอาหาร แต่ก็ยังมีผู้ผลิตที่มักแอบใส่เพื่อให้ลูกชิ้นมีความเหนียวนุ่ม เด้งหนึบหนับ และไม่เน่าเสียง่าย
  2. สารกันบูด เช่น กรดเบนโซอิก ผู้ผลิตอาจใส่เพิ่มลงไปในลูกชิ้น เพื่อไม่ให้ลูกชิ้นเสียง่าย เก็บได้นาน เนื่องจากเวลาทำขายมักทำเป็นปริมาณมากต่อครั้ง อาจไม่ได้ทำสดใหม่วันต่อวัน หากใส่ในปริมาณมากอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งเสี่ยงต่ออาการแพ้ได้
  3. โซเดียม ในลูกชิ้น 5 ลูก (ลูกขนาดกลาง 1 ไม้) มีโปรตีนราว 7 กรัม ไขมันราว 5 กรัม แต่เมื่อลูกชิ้นเป็นเนื้อสัตว์แปรรูป จึงมีโซเดียมมากกว่าเนื้อสัตว์ปกติถึง 10 เท่า หรือ ราว 350 มิลลิกรัม
  4. สีผสมอาหาร หากเป็นลูกชิ้นสีเข้มๆ ที่มีการใส่สีผสมอาหารมากเกินไป ส่งผลต่อการทำงานของตับ และไต ที่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อพยายามขับสารเคมีที่เกินความต้องการของร่างกายออก

อาการที่พบหากได้รับสารบอแรกซ์มากเกินไป

  1. อ่อนเพลีย
  2. เบื่ออาหาร
  3. น้ำหนักลด
  4. ตับ และไตอักเสบ
  5. คลื่นไส้ อาเจียน
  6. ปวดท้อง
  7. อุจจาระร่วง อุจจาระเป็นเลือด
  8. ชัก
  9. หมดสติ

สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขมีการตรวจเช็กคุณภาพของลูกชิ้นตามตลาดต่างๆ อยู่เรื่อยๆ และยังไม่พบลูกชิ้นที่มีค่าจากสารปนเปื้อนเกินมาตรฐานแต่อย่างใด แต่ก็ยังมีอันตรายอื่นๆ เช่น โซเดียมในลูกชิ้นที่มีปริมาณสูงมาก ทำให้ไต และหัวใจทำงานหนักได้

วิธีเลือกซื้อ-รับประทานลูกชิ้นปราศจากสารบอแรกซ์

  1. ซื้อลูกชิ้นที่ทราบผู้ผลิต หรือแหล่งผลิต ที่บรรจุภัณฑ์มีรหัส อย.
  2. หลีกเลี่ยงการบริโภคลูกชิ้นสีสันเข้มสดใสมากเกินไป
  3. รักษาระดับในการรับประทานโซเดียมในแต่ละคน อย่าให้สูงเกินไป
  4. ไม่ซื้อลูกชิ้นที่ใช้น้ำมันซ้ำในการทอด ลูกชิ้นที่ปิ้ง ย่างจนไหม้เกรียมมากเกินไป เพราะอาจมีสารก่อมะเร็ง
  5. ลดการบริโภคลูกชิ้นลง ไม่บริโภคเป็นประจำทุกวัน หรือในปริมาณมาก เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้
  6. รับประทานลูกชิ้นร่วมกับผัก หรือผลไม้ เพื่อให้ได้คุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วนในมื้อนั้นๆ

โรคตับแข็งอยู่ได้กี่ปีกันนะ ?

คุณทราบหรือไม่ว่าการเป็น โรคตับแข็งอยู่ได้กี่ปี กัน คำถามนี้ย่อมตอบได้ว่ามีคนให้ความสนใจอยู่ไม่น้อยเลย เนื่องจากสมัยนี้การเป็นโรคเกี่ยวกับตับมีมากขึ้น ดังนั้นผู้คนจึงหันมาสนใจเรื่องเกี่ยวกับตับมากเป็นพิเศษ เพราะตับของเรามีความสำคัญค่อนข้างมาก

อายุมากขึ้น ตับก็เสื่อมตามอายุ จริงหรือ ?

หลายๆคนคงคิดว่าหากมีอายุมากขึ้น ตับก็จะมีการทำงานเสื่อมลง แต่อาจจะไม่จริงเสมอไป เพราะอายุที่มากขึ้นไม่มีตัวชี้วัดถึงสุขภาพของตับ ถึงอายุยังน้อย ก็สามารถตับพัง ตับเสื่อมได้มากกว่าคนที่อายุมากกว่า เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เพราะตับนั้นมีหน้าที่มากมาย และยังทำงานตลอดเวลา ร่างกายจึงให้ตับเป็นอวัยวะพิเศษที่สามารถดูแลรักษาฟื้นฟู ซ่อมแซมตัวเองได้  โดยเซลล์ตับจะมีอายุเฉลี่ย 5 เดือน

จากการศึกษาค้นคว้า เซลล์ตับของคนเราจะมีอายุ 5 เดือน ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เซลล์ตับก็สามารถแบ่งตัวและสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ตับที่เสียหายไปได้เสมอ ยกตัวอย่างเช่น

คนอายุ 50 ที่มีการดูแลรักษาสุขภาพเป็นประจำ รับประทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และพักผ่อนอย่างเพียงพอในแต่ละวัน เช่นนี้ ตับก็จะมีสุขภาพดี ทำงานทุกๆอย่างได้อย่างปกติ

แต่เทียบกับคนหนุ่ม วัยรุ่นอายุ 25 แต่ใช้ชีวิตโดยไม่ใส่ใจดูแลรักษาตับ ทั้งชอบดื่มเหล่า สูบบุหรี่ ปาร์ตี้สนุกๆไปวันๆ กินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่สนใจสุขภาพตับ นอนไม่ค่อยเพียงพอ เมื่อเทียบคนสองคนนี้ก็จะรู้ได้ทันทีว่าตับของใครที่ป่วยหรือแก่กว่าอายุจริง

ดังนั้นสรุปได้ว่า อายุไม่ได้บ่งบอกถึงสุขภาพของตับเสมอไป แต่ใช่ว่าตับของเราก็จะไม่มีวันเสื่อมเลย เพราะหากเราไม่ดูแลตัว มีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆที่เพิ่มภาระให้ตับทำงานหนัก ก็จะทำให้ตับแก่ก่อนวัย แต่ตับสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ด้วยสารกลูต้าไธโอน ที่จะช่วยเร่งฟื้นฟู ดูแล และรักษาตับให้กลับมาทำงานได้ดีอย่างปกติเช่นเดิม ดังนั้นเราจึงควรรับประทานอาหารที่สามารถช่วยสร้างสารต้านอนุมูลอิสระพบในพืชผัก และผลไม้บางชนิด หรือหากใครที่ต้องการได้รับวิตามินชนิดนี้แบบเหมาะสมก็ควรรับประทานวิตามินที่มีส่วนช่วยบำรุงตับของเราในปริมาณที่พอดี ไม่มีผลอันตราย หรือผลข้างเคียง ไม่มีสารพิษตกค้าง สามารถย่อยสลายและรักษาตับได้จริงๆ